You are using an outdated browser. Please upgrade your browser to improve your experience.

กำแพงเพชร-ชาวบ้านร่วมบุญประเพณีถวาย
วัฒนธรรม

กำแพงเพชร-ชาวบ้านร่วมบุญประเพณีถวาย "ข้าวจี่ยักษ์" ความเชื่อชาวไทยอีสาน พร้อมนับจำนวนไม้ข้าวจี่นำไปเสี่ยงโชคงวดนี้



เมื่อวันที่ 16 ก.พ.65 ที๋ "วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม" ม.4 ต.ระหาน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนมากได้เดินทางมาร่วมทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา พร้อมสืบสารประเพณี "บุญข้าวจี่" ฮีตเดือน 3 และทำข้าวจี่ยักษ์ถวายพระสงฆ์ โดยมีการทำบุญตักบาตรภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ การเขียนผ้าไตรห่มเจดีย์พระธาตุข้าวเปลือกที่ใหญ่ที่สุดแห่งเดียวใน จ.กำแพงเพชร โดยชาวบ้านช่วยกันนำข้าวเหนียวนึ่งสุก มาพันใส่ไม้ ทาเกลือ แล้วเสียบไม้ทาด้วยไข่ไก่ และนำไปย่างไฟ เมื่อสุกได้ที่ก็จะมีกลิ่นหอมหน้ารับประทาน ก่อนจะนำมาปักให้เป็นพุ่มคล้ายต้นผ้าป่า เพื่อถวายแด่พระสงฆ์ โดยยืดถือเป็น"ประเพณีบุญข้าวจี่" ที่ปฎิบัติกันมายาวนานตามประเพณีของชาวไทยอีสาน จะทำกันในช่วงเดือน 3 ของไทยทุกปี หรือเรียกว่า (ฮีตเดือน 3) จะตรงกับวันมาฆบูชา



สำหรับปีนี้มีการทำ "ข้าวจี่ยักษ์" เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ที่นำไม้ไผ่ผ่าซีกสานขัดกันเป็นตะแกรงลักษณะกลมยาว ตั้งขาค้ำซ้ายขวา ให้สูงกว่าระดับเตาไฟที่ก่อขึ้นจากพื้น และย่างข้าวจี่ยักษ์ ซึ่งความร้อนจะทำให้สามารถย่างข้าวจียักษ์ได้ ซึ่งจะตัองช่วยกันพลิกไปพลิกมาจนสุกเกรียมโดยรอบ และทาด้วยไข่ ย่างจนสุกเหลืองได้ที่ จนเป็น "ข้าวจี่ยักษ์" พร้อมถวายพระสงฆ์ นับว่าเป็นประเพณีที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยนัก โดยก่อนที่จะทำการถวายข้าวจี่ พระสงฆ์ก็จะมีการเทศน์นิทานชาดก เรื่อง "นางปุณณทาสี" ถึงประวัติความเป็นมาของ "ข้าวจี่" ให้ชาวบ้านรับฟัง โดยมีเรื่องเล่าว่าในกาลครั้งหนึ่ง "นางปุณณทาสี" ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์ ครั้นถวายแล้วนางคิดว่าพระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน เพราะอาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์กลับรับอาหารเพื่อฉันจนหมด นางปุณณทาสี จึงเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาปัตติผล ด้วยอานิสงส์ที่ถวายขนมแป้งจี่ ชาวไทยอีสานจึงพากันทำ "ข้าวจี่" เพื่อถวายทานแต่พระสงฆ์สืบต่อมาจนปัจจุบันเรียกว่า "ประเพณีบุญข้าวจี่"



เมื่อชาวบ้านได้ทำการถวาย "ข้าวจี่"ที่ช่วยกันทำแล้ว ก็ได้มีการนับจำนวนข้าวจี่ที่ปั้นถวายว่ามีทั้งหมดเท่าใด ปรากฎว่ามีทั้งหมด 147 ไม้ นอกจากจะได้บุญใหญ่แล้ว จึงพากันนำตัวเลขนี้ไปเสี่ยงโชคกันเป็นจำนวนมาก ส่วน "ข้าวจี่ยักษ์" ที่ทำเสร็จและถวายพระแล้วนั้น ชาวบ้านก็พากันรุมแกะนำไปรับประทานเพื่อเป็นสิริมงคลตามความเชื่อ จากนั้นได้มีการเดินเวียนเทียนรอบพระธาตุข้าวเปลือกเพื่อนำพระบรมสารีริกธาตุจากอุโบสถมาประดิษฐานในพระธาตุข้าวเปลือก เพื่อเตรียมจัดงานบุญผะเหวดในข่วงต้นเดือน มีนาคมที่จะถึงนี้ด้วย

ข่าว/ภาพ นายวิทยา จตุรภาค  สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร

สนับสนุนข่าวโดย

1
2
3
4

8
9
10
12
15
16

17


คุณสามารถแบ่งปันเนื้อหานี้!

แสดงความคิดเห็น