You are using an outdated browser. Please upgrade your browser to improve your experience.

กำแพงเพชร-เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จัดงานทอดเทียนโฮม,ทอดต้นเงิน,ร้องสรภัญญะ สืบสานวัฒนธรรมไทยอีสาน ณ วัดมหาโพธิมงคล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
วัฒนธรรม

กำแพงเพชร-เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จัดงานทอดเทียนโฮม,ทอดต้นเงิน,ร้องสรภัญญะ สืบสานวัฒนธรรมไทยอีสาน ณ วัดมหาโพธิมงคล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร


เมื่อวันศุกร์ ที่ 4 กันยายน 2563 เวลา 09.00 น. นายศักดิ์ สะมะโน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานเปิด งานทอดเทียนโฮม,ทอดต้นเงิน,ร้องสรภัญญะ (ทำนองอีสาน) ณ วัดมหาโพธิมงคล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยมี นายสิงหวัฒน์ วัฒนศิริ นายกเทศมนตรีตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวรายงาน ร่วมด้วยคณะผู้บริหารฯ สมาชิกสภาเทศบาลฯ และประชาชนตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล เข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง



งานทอดเทียนโฮม,ทอดต้นเงิน,ร้องสรภัญญะ (ทำนองอีสาน) เป็นประเพณี ที่ดีงามของชาวไทยเชื้อสายอีสานที่มีมาช้านานเป็นประเพณีเก่าแก่ซึ่งชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล ส่วนใหญ่เป็นคนอีสานซึ่งได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำในช่วงเข้าพรรษาหรือ ช่วงกลางพรรษาถึงก่อนออกพรรษา ในทุก ๆ วันพระ คำว่า "ทอดเทียน" มาจากคำสองคำคือ ทอดระยะจากจุดหนึ่ง ถึงอีกจุดหนึ่ง และอีกนัยหนึ่งคือการถวายสิ่งของแด่พระส่วนคำว่าเทียนคือเครื่องบูชาพระหรือจุดให้แสสว่างที่หล่อด้วยขี้ผึ้งหรือไขเป็นต้นมีไส้ตรงใจกลางจากการนำความหมายของคำสองคำนั้นอาจจะหมายถึงการนำต้นเทียนที่มีอยู่ของแต่ละหมู่บ้าน หรือวัดนำไปบูชาจากวัดหนึ่งถึงวัดหนึ่งเพื่อเป็นการเยี่ยมยามถามข่าวสารทุกข์สุกดิบของชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน ประเพณีทอดเทียนของชาวอีสานนี้สืบทอดกันมายาวนานหลายชั่วคนโดยหมู่บ้านหนึ่งจะต้องนำต้นเทียนไปบูชาอีกวัดหนึ่งซึ่งอาจจะอยู่คนละหมู่บ้านแล้วทำพิธีทางพระพุทธศาสนาประเพณีนี้นิยมทำในช่วงเข้าพรรษา


โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. เพื่อเป็นการถวายเทียนพรรษาในเทศกาลเข้าพรรษาและเพื่อบูชาพระรัตนตรัย 2. เพื่อเป็นการสืบสานฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ประเพณีอันดีงามของชาวอีสาน 3. เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างหมู่บ้าน 4. เพื่อเป็นการแสดงความสามัคคี 5. เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป ซึ่งหลังจากทำพิธีเปิดเป็นที่เรียบร้อยแล้วเป็นการแสดงฟ้อนรำของกลุ่มชาวไททรงดำ จำนวน 5 ชุด มีการเป่าแคนพร้อมกับการขับรำไปด้วย ซึ่งจะหาชมได้ยาก จะมีก็ในงานพิธีนี้เท่านั้น นอกจากนี้ชาวไทดำยังมีประเพณีร่วมกันกับชาวไทยพื้นถิ่น เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆอีกด้วย

ข่าว/ภาพ นายวิทยา จตุรภาค  สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร

สนับสนุนข่าวโดย

1
2
3
4

8
9
10
12
15
16

17

คุณสามารถแบ่งปันเนื้อหานี้!

แสดงความคิดเห็น