You are using an outdated browser. Please upgrade your browser to improve your experience.

กำแพงเพชร- 29 กรกฎาคม วันอนุรักษ์เสือโลก เดินหน้าสนับสนุน WWF เพิ่มประชากรเสือโคร่งในไทยขณะทั่วโลกมีเสือโคร่งเหลืออยู่ในป่า เพียง 4,000 ตัว
ข่าวรอบบ้าน

กำแพงเพชร- 29 กรกฎาคม วันอนุรักษ์เสือโลก เดินหน้าสนับสนุน WWF เพิ่มประชากรเสือโคร่งในไทยขณะทั่วโลกมีเสือโคร่งเหลืออยู่ในป่า เพียง 4,000 ตัว


เมื่อเวลา 09.00น.วันที่ 29 ก.ค.63 ผู้สื่อข่าวจังหวัดกำแพงเพชร รายงานว่า กรมอุทยานแห่งชาติ จัดงานวันเสือโคร่งโลก ปี 2563 วันนี้-2 ส.ค. เปิดให้ชมฟรี ในแนวคิด "ป่าไทยไม่ไร้เสือ Road for Thai Tigers"โดย นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล โพสต์เฟซบุ๊กว่า เสือโคร่งไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในรอบ 10ปี! ระหว่าง วันที่ 25 ก.ค. – 2 ส.ค. นี้ เข้าชมฟรี! ที่หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ เนื่องจากทุกวันนี้พบว่าเสือโคร่งอาศัยอยู่ใน 13 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ บังกลาเทศ, ภูฏาน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย (สุมาตรา), ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, รัสเซีย, เวียดนาม และไทยนอกจากนี้ในการประชุมดังกล่าวได้มีการตั้งเป้าหมายว่าจะช่วยกันเพิ่มจำนวนประชากรเสือโคร่งขึ้นเป็น 2 เท่า ในปี 2565 ซึ่งในส่วนของประเทศไทยขอเพิ่มเพียง 50% ของประชากรเสือที่มีอยู่เวลานั้นประมาณ 200-250 ตัว คือ จะต้องเพิ่มประชากรเสือขึ้นอีกประมาณ 100-125 ตัว ปัจจุบัน สถานการณ์เสือโคร่งในไทย ส่วนใหญ่พบบริเวณผืนป่าตะวันตก ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนเสือโคร่ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 79 ตัวเพื่อสร้างการรับรู้ในการอนุรักษ์ ป้องกันการฆ่า และเพิ่มจำนวนเสือโคร่ง ตามแผนฟื้นฟูประชากรเสือของไทย โดยตั้งเป้าเพิ่มจำนวนเสือโคร่งให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายในปี 2565 ในงานแบ่งเป็น 4 โซน

1.ข้อมูลการดำเนินการอนุรักษ์เสือโคร่ง

2. การนำเสนอข้อมูลของเสือโคร่งที่ได้จากภาพถ่ายจากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า

3. การนำเสนอประชากรเสือโคร่งผ่านแผนที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแผนที่ประเทศไทย

4. ทรรศการภาพถ่ายอนุรักษ์เสือโคร่ง


นอกจากนี้ ยังเปิดเวทีเสวนาพูดคุยถึงความสำเร็จการอนุรักษ์เสือโคร่งของไทยอีกด้วย ด้านนายกิติพัฒน์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชร-นครสวรรค์ กล่าวว่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน เป็นผืนป่าที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและเหยื่อ เนื่องจากมีพื้นที่รวมกันกว่า 1,200 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของผืนป่าตะวันตก ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรเสือโคร่งหนาแน่นที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาค มีความเหมาะสมต่อการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง ด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ และการไม่มีชุมชนอาศัยอยู่ภายในพื้นที่อนุรักษ์ เสือโคร่ง (Panthera tigris)เป็นนักล่าผู้อยู่ในตำแหน่งบนสุดของระบบห่วงโซ่ เป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศและยังเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เนื่องจากเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ต้องการใช้พื้นที่อาศัยขนาดใหญ่และมีความต้องการสัตว์ที่เป็นเหยื่อที่หลากหลาย หากเสือโคร่งสามารถอาศัยอยู่ได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าสัตว์ชนิดต่าง ๆ ก็อาศัยอยู่ได้อย่างปกติเช่นกัน แต่ปัจจุบันประชากรของเสือโคร่งลดลงอย่างน่าเป็นห่วง จนถูกจัดให้อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered Species) เนื่องจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการ คือ การสูญเสียที่อยู่อาศัย การถูกล่า และปริมาณของสัตว์ที่เป็นเหยื่อลดลง รวมถึงการหยุดความเชื่อที่ว่า อวัยวะของเสือโคร่งมีสรรพคุณพิเศษในการบำรุงและรักษาโรค


เสือโคร่ง เป็นสัตว์ป่าอีกหนึ่งชนิด ที่อยู่ในสถานะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ จากปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า และขบวนการลักลอบค้าสัตว์ โดยเฉพาะการที่จะช่วยให้เกิดการเพิ่มจำนวนของเสือโคร่งคือ มาตรการป้องกันการล่าที่จริงจัง โดยเฉพาะการล่าเสือโคร่งเพศเมีย ที่เป็นเหยื่อพรานป่าที่ล่าผิดกฎหมาย ทำให้ประชากรไม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะการผสมพันธุ์มากๆขึ้น จะช่วยให้ลูกเสือโคร่งเพิ่มและรอดชีวิต ซึ่งหลายๆครั้งๆที่กรมอุทยานแห่งชาติแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand) เปิดเผยภาพถ่ายจากกล้องดักถ่ายภาพที่ติดตั้งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ – คลองลาน การสำรวจเรื่องต้นมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีกล้องดักถ่ายภาพติดตั้ง จำนวน 164 ตัว ในพื้นที่ 82 จุดภายในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน การติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพ จะพิจารณาจากร่องรอยที่ปรากฏของเสือโคร่ง เสือดาว เสือดำ และสัตว์อื่นๆ เช่น รอยตีน รอยคุ้ย กองมูล และรอยพ่นฉี่ บริเวณ ถนน เส้นทางเดินตรวจการณ์ เส้นทางชักลากไม้เก่า หรือด่านสัตว์ โดยติดตั้งกล้อง 2 ตัวต่อหนึ่งจุดสำรวจ เพื่อให้สามารถถ่ายภาพเสือโคร่งได้ทั้งด้านซ้ายและขวา จากนั้นตรวจสอบการทำงานของกล้องและภาพที่ถ่ายได้ทุก 15 วัน และวางกล้องไว้ในป่าเป็นเวลาประมาณ 60 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วนำภาพมาจำแนกชนิดสัตว์ บันทึกข้อมูลตำแหน่ง วันที่ เวลา เพศและอายุของสัตว์ที่สามารถถ่ายภาพได้ และจัดทำฐานข้อมูลทั้งเสือโคร่งและสัตว์ป่าในพื้นที่ทั้ง 2 อุทยานฯและแนวเขตติดต่อ ที่สัตว์เดินไป-มา ซึ่งจากการศึกษาเผย จำนวนเสือโคร่งเพศเมียโตเต็มวัยมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 25% ต่อปี และตั้งเป้าเพิ่มจำนวนประชากรเสือโคร่งอีก 50% ให้ได้ภายในปี 2565 ปัจจุบัน มีเสือโคร่งโตเต็มวัยรวมกัน หลายๆ10 ตัว โดยมี เกือบ 10 ตัวเป็นเสือโคร่งเพศเมียโตเต็มวัย และอีก 4 ตัวเป็นเสือเพศผู้โตเต็มวัย นอกจากนั้นยังมีการรายงานมีประชากรเสือโคร่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากที่สุด คือป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ประมาณ 70 ตัว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ประมาณ 15-20 ตัว อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติทับลาน ประมาณ 5 ตัวทั้งนี้การขยายพันธุ์เสือโคร่ง มาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน สามารถเพิ่มจำนวนเสือโคร่งในพื้นที่ป่าได้ล่าสุด 250 ตัว ทั่วประเทศทั้งนี้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเสือโคร่งและนักวิจัย ติดปลอกคอศึกษาพฤติกรรมเสือโคร่งด้วย


ทั้งนี้ 2 อุทยานฯ ประจักษ์ว่าทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เสือโคร่ง ช้างป่า ไม้กฤษณา ไม้พะยูง ฯลฯ ซึ่งล้วนมีมูลค่าสูง มีผู้คิดตักตวงผลประโยชน์ตลอดเวลา จึงบูรณาการร่วมกันคุ้มครองป้องกัน ให้มีการลาดตระเวนโดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเป็นรูปแบบมาตรฐานพัฒนาระบบลาดตระเวนโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า “ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol System)” ซึ่งใช้ระบบฐานข้อมูล สมาร์ท SMART (Spatial Monitoring And Reporting Toolให้เจ้าหน้าที่มีข้อมูลและเทคโนโลยีดูแลรักษาทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ มีกำลังใจที่เข้มแข็ง และมีความภูมิใจในหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ป่า เป้าหมายสูงสุดของระบบนี้คือ เพื่อให้สัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่มีค่าและใกล้สูญพันธุ์เหล่านั้นรอดพ้นจากความโลภและความไม่ใส่ใจของมนุษย์ที่ยังมีอยู่ไม่น้อยในสังคม และให้โอกาสแก่สัตว์ป่าและพันธุ์พืชทำหน้าที่ดำรงรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่สังคมโดยรวมตลอดไป “ประเทศไทยคือหนึ่งในไม่กี่ประเทศ และเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังมีจำนวนเสือโคร่งในธรรมชาติมากเพียงพอต่อการฟื้นฟูจำนวนประชากร เราตระหนักดีว่า หากเสือโคร่ง ซึ่งอยู่สูงสุดของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศถูกทำลาย จะส่งต่อสภาพแวดล้อมทางชีวภาพทั้งหมดอย่างไร และเป็นการยากแค่ไหนที่จะรักษาสมดุลธรรมชาติ ให้กลับคืนมาได้อีกครั้ง แต่สถานการณ์ในประเทศไทยขณะนี้ ถือว่าเรายังมีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนเสือ”

ข่าว/ภาพ นายวิทยา จตุรภาค  สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร

สนับสนุนข่าวโดย

1
2
3
4

8
9
10
12
15
16

17

คุณสามารถแบ่งปันเนื้อหานี้!

แสดงความคิดเห็น